ไหว้พระ 9 วัดเสริมสิริมงคล

11 มิ.ย. 2564      10358 views

แชร์ทั้งหมด 29 ครั้ง

Facebook share Twitter share Print

ในตัวเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัดมากมายที่ชาวเชียงใหม่ให้ความสำคัญ และมีวัดที่ผู้คนนิยมไปศักการะบูชามากมาย เราจึงขอยกบางวัดมาแนะนำแก่นักท่องเที่ยว

 

1.วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร


 

 วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร  พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ในบริเวณคูเมืองเชียงใหม่ ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระสิงห์ฯ เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เป็นประดิษฐานพระสิงห์ พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนาพระพุทธรูปเป็นศิลปะเชียงแสนรู้จักกันในชื่อ "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง"

     ประวัติ    พญาผายู กษัตริย์เชียงใหม่ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1888 ขั้นแรกให้ก่อสร้างเจดีย์สูง 23 วา เพื่อบรรจุพระอัฐิของพญาคำฟู พระราชบิดา ต่อมาอีก 2 ปี จึงได้สร้างพระอาราม เสนาสนวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร และกุฏิสงฆ์ เมื่อเสร็จเรียบร้อย ทรงตั้งชื่อว่า "วัดลีเชียงพระ" สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ขึ้นครองนครเชียงใหม่ โปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงราย เมื่อขบวนช้างอัญเชิญมาถึงหน้าวัด ช้างก็ไม่ยอมเดินทางต่อ พระเจ้าแสนเมืองมา จึงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐาน ณ วัดลีเชียงพระ ประชาชนทางเหนือนิยมเรียกพระพุทธสิหิงค์ ว่า "พระสิงห์" จึงเป็นที่มาของชื่อ "วัดพระสิงห์" ในปี พ.ศ. 2360 พระญาธัมมลังกา หรือพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา พระอนุชาของพระเจ้ากาวิละ โปรดให้บูรณะพระอุโบสถและพระเจดีย์       ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์สุดท้าย พร้อมด้วยครูบาศรีวิชัย และประชาชนชาวเชียงใหม่ ได้ร่วมกันบูระฃณะปฏิสังขรณ์วัดพระสิงห์อีกครั้ง และได้มีการขุดพบสิ่งของมีค่ามากมาย อาทิ แผ่นทองคำจารึกเรื่องราวต่างๆ โกศบรรจุอัฐิพระญาคำฟู แต่สิ่งของเหล่านี้สูญหายไปในช่วงสงครามเอเชียบูรพา และในปี พ.ศ. 2493 วัดพระสิงห์(ศาสนา) ได้รับโปรดเกล้าให้เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร

      สถานที่ตั้ง ถ.สามล้าน ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่  โทร. 0 5327 3703 / 0 5380 5005

 


 

 

2.วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร  


 

 วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร   เป็นวัดเก่าแก่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีชื่อเรียกหลายชื่อ  ได้แก่ ราชกุฏาคาร วัดโชติการาม สร้างขึ้นในรัชสมัยของ พระเจ้าแสนเมืองมา  กษัตริย์ลำดับที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ. 1928 - พ.ศ. 1945 วัดเจดีย์หลวงเป็นพระอารามหลวงแบบโบราณ มีการบูรณะมาหลายสมัย โดยเฉพาะพระเจดีย์ ที่ปัจจุบันมีขนาดความกว้างด้านละ 60 เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเชียงใหม่ 

      ประวัติ   จุลศักราช 289 (พ.ศ. 1874) พระเจ้าแสนภู โปรดให้สร้างเมืองเชียงแสน และต่อมาอีก 4 ปีทรงสร้างมหาวิหารขึ้นในท่ามกลางเมืองเชียงแสน [2]คือวัดเจดีย์หลวงองค์ที่ 1 ซึ่งอยู่ในวัดพระเจ้าตนหลวง เมืองเชียงแสน สมัยพระเจ้าแสนเมืองมาซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้ากือนา ขณะที่มีพระชนมมายุ 39 ปี พระองค์โปรดให้สร้างพระเจดีย์หลวงกลางเมืองเชียงใหม่ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จดีก็สวรรคต พระราชินีผู้เป็นอัครมเหสีของพระองค์ ได้โปรดให้ทำยอดพระธาตุเจดีย์หลวงจนแล้วเสร็จ

ปี พ.ศ. 2055 พระราชา (พระเมืองแก้ว) พร้อมด้วยชาวเมืองทั้งหลาย เอาเงินมาทำกำแพงล้อมพระธาตุเจดีย์หลวง 3 ชั้นได้เงิน 254 กิโลกรัม จากนั้นจึงได้เอาเงินมาแลกเป็นทองคำจำนวน 30 กิโลกรัม แล้วแผ่เป็นแผ่นทึบหุ้มองค์พระธาตุเจดีย์หลวง เมื่อรวมกับทองคำที่หุ้มองค์พระเจดีย์หลวงอยู่เดิม ได้น้ำหนักทองคำถึง 2,382.517 กิโลกรัม

ประมาณ พ.ศ. 2088 สมัยพระนางจิระประภามหาเทวี ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเชียงใหม่ จึงทำให้ยอดพระเจดีย์หลวงหักพังทลายลงมา หลังจากนั้นพระเจดีย์หลวงจึงถูกทิ้งให้ร้างมานานกว่า 400 ปี กระทั่งปี พ.ศ. 2423 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ได้รื้อพระวิหารหลังเก่าและสร้างวิหารหลวงขึ้นใหม่ด้วยไม้ทั้งหลัง

ช่วงปี พ.ศ. 2471-2481 สมัยพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย ถือได้ว่าเป็นทศวรรษแห่งการบูรณะครั้งสำคัญของวัดพระเจดีย์หลวง ได้มีการรื้อถอนสิ่งปรักหักพัง แผ้วถางป่าที่ขึ้นปกคุลมโบราณสถานต่างๆ ออก แล้วสร้างเสริมเสนาสนขึ้นใหม่ให้เป็นวัดสมบูรณ์แบบในเวลาต่อมา

     พระเจดีย์หลวง ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่โดยกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2533 ใช้งบประมาณในการบูรณะถึง 35 ล้านบาท แล้วเสร็จเมื่อวันที่30 ธันวาคม พ.ศ. 2535

    แต่เดิมวัดเจดีย์หลวง ชื่อ โชติการามวิหาร” แปลว่า พระอารามที่มีแต่ความรุ่งเรืองสว่างไสว เนื่องจากเป็นสถานที่บรรจุพระเกศาธาตุ และพระธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า ในกาลครั้งหนึ่ง เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช ส่งสมณะทูต 8 รูป ภายใต้การนำพระโสณะ และ พระอุตตะระ เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเขตสุวรรณภูมิ รวมทั้งภูมิภาคนี้ด้วย ได้นำเอาพระบรมธาตุมาบรรจุไว้ในองค์เจดีย์องค์เล็กสูง3 ศอก ที่สร้างขึ้น ณ บริเวณอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุเจดีย์หลวงในปัจจุบัน ในเวลานั้นมีมีชายผู้หนึ่ง อายุ 120 ปี มีใจเลื่อมใส ได้แก้เอาผ้าห่มชุบน้ำมันจุดบูชา และได้ทำนายว่า ต่อไปในภายภาคหน้า ตรงนี้จะเป็นอารามใหญ่ชื่อโชติการาม พวกลัวะทั้งหลายเอาข้าวของบูชาพระธาตุพระพุทธเจ้า จึงก่อเจดีย์หลังหนึ่งสูง 3 ศอกไว้เป็นที่สักการบูชา

      นอกจากนี้ยังมีความหมายอีกนัยหนึ่งของคำว่า โชติการาม” คือ เวลาที่มีการจุดประทีปโคมไฟไปประดับบูชาองค์พระธาตุเจดีย์หลวง จะปรากฏจะปรากฏแสงสีสว่างไสว มองเห็นองค์พระเจดีย์คล้ายเชิงเทียนที่มีเปลวไฟลุกโชติช่วงสว่างไสว ดูแล้วมีความงดงามยิ่งนัก สามารถมองเห็นได้แต่ไกล   ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดเจดีย์หลวงเนื่องจากในภาษาเหนือ หรือคำเมือง หลวงแปลว่า ใหญ่” หมายถึง พระธาตุเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่  

      สถานที่ตั้ง   ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่   โทร. 0 5327 8328


3.วัดลอยเคราะห์

 

 วัดลอยเคราะห์   เดิมชื่อว่า  วัดร้อยข้อ (วัดฮ้อยข้อ) สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้ากือนากษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งราชวงศ์มังราย วัดนี้จึงมีอายุราว  500 ปี แต่เมื่อสมัยปลายราชวงศ์มังรายพม่าตีล้านนาได้และเข้ามาปกครองซึ่งไม่ปรากฏว่ามีผู้บูรณะปฏิสังขรณ์อีก วัดนี้จึงทรุดโทรมลงตามลำดับ  จนกระทั่งถึงรัชสมัย

 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี  ขุนนางเชียงใหม่เบื่อหน่ายการปกครองของพม่า จึงได้เข้าร่วมกับกองทัพธนบุรีสู้รบกับพม่า   แต่ไม่สามารถขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่ได้   เชียงใหม่ต้องรับศึกพม่าต่อมาอีก  ดังนั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงปล่อยให้เชียงใหม่เป็นเมืองร้าง  วัดร้อยข้อ  จึงกลายเป็นวัดร้างเช่นเดียวกับทุกวัดในเมืองเชียงใหม่

      ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  พระองค์ได้โปรดให้พระยากาวิละเข้ามาปกครองล้านนา 57 หัวเมืองและตั้งเชียงใหม่ขึ้นมาใหม่ภายหลังจากที่ร้างไปถึง 20  ปี  พระองค์ทรงบูรณะซ่อมแซมเมืองให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์และเฉิลมนามเมืองใหม่ว่า “ รัตนติงษาอภินวบุรีศรีเชียงใหม่ ” ต่อมาพระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพไปตีนครเชียงแสน ซึ่งขณะนั้นพม่ายึดครองอยู่แล้วกวาดต้อนผู้คนชาวเชียงแสนมาไว้ที่เชียงใหม่เพื่อเพิ่มพลเมืองเชียงใหม่ให้มากขึ้น และโปรดให้ชาวเชียงแสนตั้งบ้านเรือนอยู่  ณ  เวียงชั้นนอกด้านขวาของประตูท่าแพ  ทางทิศตะวันออกของเมืองเชียงใหม่  ชาวบ้านฮ่อม ซึ่งต่อมาได้สร้างวัดร้อยข้อที่รกร้างขึ้นใหม่  แล้วเอาชื่อวัดจากเมืองเชียงแสนมาตั้งชื่อ วัดร้อยข้อ ว่า “ วัดลอยเคราะห์  ”  วัดนี้มีพัทธสีมาเป็นเอกเทศได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ  พ.ศ. 2040   เขตวิสุงคามสีมา กว้าง  6  เมตร ยาว  16  เมตร

      ตั้งอยู่เลขที่ 65  ถนนลอยเคราะห์  ตำบลช้างคลาน  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่  โทร. 0 5327 3873

 


4.วัดดวงดี

 

 วัดดวงดี    เป็นวัดที่อยู่ใกล้อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ประวัติของวัดไม่เป็นที่ปรากฏแน่ชัดนัก แต่ตามหลักฐานที่ทางอดีตเจ้าอาวาส (พระอธิการบุญชูอภิปุญฺโญ) ได้ขอให้คุณปวงคำ ตุ้ยเขียว ค้นคว้าและเรียบเรียงประวัติวัดดวงดี เพราะเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ในแต่ละวันมีทั้ง ชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าเยี่ยมชมเป็นจำนวนมากเพราะเหตุว่าชื่อวัดเป็น ชื่อมงคล วัดดวงดีนั้นตามปรากฏหลักฐานข้อมูลที่มีมาหลายชื่อ เช่นวัดพันธุนมดี วัดอุดมดี วัดพนมดี

 

     ใน ปี 2513 คุณปวงคำได้เป็นผู้ช่วยวิจัยในโครงการวิจัยคำจารึกบนฐานพระพุทธรูป ในตำบลศรีภูมิและตำบลพระสิงห์ โดยมี ดร.ฮันส์ เพนธ์ เป็นหัวหน้าได้พบคำจารึกบนฐานพระพุทธรูปโลหะองค์หนึ่ง ประดิษฐานอยู่ในวิหาร จารึกด้วยอักษรไทยยวน มีความว่า สกราชได้ 859 ปีวายสี พระเจ้าตนนีแสนนึงไว้วัดต้นมกเหนือ (จ.ศ. 859พ.ศ. 2039 สมัยพระเจ้ายอดเชียงรายครองเมืองเชียงใหม่)  พระพุทธรูปองค์นี้น่าจะไม่มีผู้นำมาจากที่อื่น แต่สร้างขึ้นในวัดนี้ ซึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวัดต้นมกเหนือ หรือวัดต้นหมากเหนือ วัดดวงดีคงสร้างขึ้นหลังจากพระเจ้ามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว คงจะมีเจ้านายเมืองเชียงใหม่คนหนึ่งเป็นผู้คิดสร้างขึ้น

ใน ปี พ.ศ. 2304 ; มีหลักฐานในประวัติเมืองเชียงใหม่ว่า เจ้าอาวาสวัดดวงดีได้รับอาราธนาให้ลาสิกขาบท และอัญเชิญให้เป็นเจ้าครองเมืองเชียงใหม่ เป็นระยะเวลาสั้นๆ จนปี พ.ศ. 2306 ล้านนาไทยรวมทั้งเมืองเชียงใหม่ ต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าอีกครั้ง ลุจุลศักราช 1136 ตรงกับปีพ.ศ. 2317 เจ้ากาวิละ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทัพพระเจ้ากรุงธนบุรี สามารถยึดเมืองเชียงใหม่คืนจากพม่าได้ เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น15 ค่ำ เดือนห้าเหนือ เมืองเชียงใหม่จึงเจริญรุ่งเรืองจนถึงปัจจุบัน

 มีข้อมูลที่น่าสนใจว่า วัดนี้เคยใช้เป็นสำนักเรียนสำหรับลูกเจ้าขุนมูลนายในสมัยก่อน และยังเคยถูกใช้เป็นสถานที่เรียนของนักเรียนยุพราชวิทยาลัยก่อนที่จะมีการ ก่อสร้างแล้วเสร็จอีกด้วย

     สถานที่ตั้ง  เป็นวัดที่อยู่ใกล้อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ตั้งอยู่ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 08 1883 2640

 


5.วัดเชียงมั่น
 

  วัดเชียงมั่น    มีประวัติปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่  และพงศาวดารโยนก หลังจากที่พญางำเมือง พญาร่วง และพญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 1839  ทั้ง3 พระองค์ทรงโปรดให้สร้างเจดีย์ และพญามังรายทรงประทับชั่วคราวในระหว่างควบคุมการสร้างเมือง ตรงหอนอนบ้านเชียงมั่น เรียกว่า "เวียงแก้ว" ทรงอุทิศตำหนักคุ้มหลวง  เวียงเห,้ก  ตั้งเป็นพระอารามหลวงแห่งแรกและพระราชทานนามว่า

 


"วัดเชียงมั่น" จากนั้นคาดว่าเจดีย์พังลงมาในสมัยพระเจ้าติโลกราช (ครองราชย์ พ.ศ. 1985 - 2031) พระองค์จึงโปรดให้สร้างเจดีย์ใหม่ ทำด้วยศิลาแลง เมื่อปี พ.ศ. 2014   เมื่อเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าในปี พ.ศ. 2094 วัดเชียงมั่นจึงถูกปล่อยร้าง จนปี พ.ศ. 2101 เจ้าฟ้ามังทรา (สมเด็จพระมหาธัมมิกะราชาธิราช) แห่งพม่า บูรณปฏิสังขรณ์วัดเชียงมั่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยโปรดให้สร้างเจดีย์ วิหาร อุโบสถ หอไตร ธัมมเสนาสนะกำแพง และประตูโขง มีพระมหาหินทาทิจจวังสะเป็นเจ้าอาวาสเมื่อถึงสมัยพระยากาวิละครองเมือง เชียงใหม่ (พ.ศ. 2324 - 2358)    ต่อมาพระพุทธศาสนาแบบธรรมยุกนิกายเผยแผ่เข้ามาในอาณาจักรล้านนา เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์จึงนิมนต์พระธรรมยุตมาจำพรรษาอยู่ แต่ได้ย้ายไปอยู่วัดหอธรรมและวัดเจดีย์หลวงตามลำดับ ในภายหลัง

       วัดเชียงมั่น  มีพระเสตังคมณี(พระแก้วขาว)และพระศิลาซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางปราบช้างนาฬาคีรีประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร

       สถานที่ตั้ง   ถนนราชภาคิไนย  ตำบลศรีภูมิ   อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่  โทร. 0 5321 3170

 


 6.วัดดับภัย

  วัดดับภัย  เดิมชื่อ วัดอภัย” หรือ วัดตุงกระด้าง” มีตำนานเล่าว่า   เมื่อพญาอภัยล้มป่วยทำการรักษาอย่างไรก็ไม่ทุเลา จึงตั้งจิตอธิษฐานต่อหน้าหลวงพ่อดับภัย   อาการเจ็บป่วยก็หายไปพลัน พญาอภัยจึงให้บริวารลูกหลานตั้งบ้านเรือนบริเวณวัด  และบูรณะปฏิสังขรณ์ จึงเรียกชื่อใหม่ว่าวัดดับภัย เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมแบบพื้นเมืองล้านนา  วัดแห่งนี้มีบ่อน้ำอยู่หน้าวิหาร  เชื่อว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์  สมัยพระเจ้า

 

อินทวโรรส   เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 8 เสด็จกลับจากกรุงเทพ ฯ ต้องแวะมาวัดดับภัย เพื่อนำน้ำในบ่อนี้ไปสรงน้ำพระพุทธมนต์ ก่อนแวะไปวัดเชียงยืนเพื่อสืบดวงชะตา

       วัดแห่งนี้ชื่อเป็นมงคลนาม เป็นวัดที่พุทธศาสนิกชนไปกราบไหว้สักการบูชา

       ตั้งอยู่ที่   ถนนสิงหราช ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่  โทร. 08 4175 4558

 

 


 7.วัดชัยมงคล


 

วัดชัยมงคล  เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่ง สร้างในสมัยไม่ปรากฏหลักฐานประมาณกันว่ามีอายุราว 600 ปี เดิมเนื้อที่ของวัดเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยยาวไปทิศเหนือ-ทิศใต้ ด้านทิศตะวันตกตั้งแต่เจดีย์ออกไปถึงถนนใหญ่เป็นบ้านพักกงสุลฝรั่งเศส ครูบาดวงแก้ว คันธิยะ อดีตเจ้าอาวาสเห็นว่าต่อไปคนจะมาทำบุญจะหาทางเข้าวัดลำบาก เพราะถนนเลียบฝั่งแม่น้ำปิงถูกกัดเซาะพังไปหมด ครูบาดวงแก้วจึงเจรจากับรัฐบาลฝรั่งเศสเพื่อขอแลก

ที่ดิน ด้านทิศเหนือแลกกับทิศตะวันตกเพื่อให้ที่ดินของวัดและกงสุลเป็นรูปสี่ เหลี่ยมด้านเท่ารัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้ตกลงตามข้อเสนอ ครูบาดวงแก้วจึงได้ดำเนินการย้ายเจดีย์หลังเก่าซึ่งติดกับรั้วของกงสุล ฝรั่งเศส มาสร้างใหม่เป็นทรงมอญ    วัดชัยมงคลเดิม เป็นวัดมอญ  เดิมชื่อ  วัดมะเล่อ หรือมะเลิ่ง  (แปลว่า รุ่งแจ้ง,รุ่งอรุณ)

       ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระราชชายาดารารัศมีขอพระราชทานเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวัดชัยมงคล (ริมปิง) เพราะเหตุที่ว่าท่าน้ำเป็นท่าลงเรือเจ้านายฝ่ายเหนือจะล่องไปกรุงเทพฯ  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาบางคนก็เรียกว่า อุปาเม็ง หรือ อุปานอก เพราะถือว่าเป็นวัดพี่วัดน้องกับวัดบุพพาราม (อุปมาใน)

       แต่เดิมอุโบสถของวัดตั้งอยู่ในลำน้ำริมปิงติดกับกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียง เหนือ พอถึงฤดูน้ำหลากมีซุงไหลมาชนโบสถ์เสียทำให้สังฆกรรมไม่ได้

       ในปี พ.ศ. 2478 ครูบา ดวงแก้ว จึงขอพระราชทานวิสุงคามสีมา และปลูกสีมาฝังลูกนิมิตเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2479 จึงทำให้อุโบสถ์ซ้อนวิหารเป็นหลังเดียวกันในปัจจุบันนี้

 

       ปูชนียสถานภายในวัด มี "พระพุทธชัยมงคล" รูปปางมารวิชัยก่ออิฐหรือลงรักปิดทอง เป็นพระประธานภายในวิหาร ซึ่งจำลองแบบมาจากฝาผนังหลังด้านพระประธาน  "ธรรมมาสน์"ไม้สักแกะสลักรูปนาค 7 เศียร สร้างในปี พ.ศ.2476    และ "พระพุทธรูปไม้สักปางเปิดโลก" มีอายุประมาณ 500 ปี   ซึ่งได้มาจากวัดกิติ

       สถานที่ตั้ง   ถนนเจริญประเทศ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 0 5382 0671


8.วัดชัยพระเกียรติ


 

วัดชัยพระเกียรติ    เดิมชื่อวัดชัยผาเกียรติ เป็นพระอารามของนครเชียงใหม่มาแต่โบราณกาล ในรัชสมัยของพระเจ้าเมกุฏิ วิสุทธิวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ส่วนการสร้างวัดและพระประธานในวิหาร พระมหาเทวี จิระประภา ทรงสร้างเพื่อเป็นอนุสาวรีย์ถวายแด่   สมเด็จพระชัยราชาธิราชกษัตริย์ในวงค์สุวรรณภูมิ

ซึ่งปกครองกรุงศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ.2081 ถึง พ.ศ.208   น้ำหนักที่หล่อพระพุทธรูปองค์นี้มีอยู่ 5 ตื้อ ตื้อ 1 เท่ากับ 10 โกฏิ น้ำหนักทอง 5 ตื้อ เท่ากับ 50 โกฏิ จึงเรียกพระนามว่า "พระเจ้า 5 ตื้อ"   ตามหลักฐานจารึกที่ฐานพระว่าสร้างเมื่อจุลศักราช 920 ตรงกับ พ.ศ.2101 วัดชัยผาเกียรติ ต่อมาเรียกว่าวัดชัยพระเกียรติ จนถึงปัจจุบัน

     สถานที่ตั้ง  ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่   โทร. 053222616


 

9. วัดเชียงยืน


วัดเชียงยืน    เป็นวัดนามมงคลของเชียงใหม่  จากคัมภีร์มหาทักษาพยากรณ์พบว่า การสร้างเมืองเชียงใหม่ในอดีต  จะมีวัดสำคัญตั้งอยู่ประจำทิศทั้งแปดที่สอดคล้องกับระบบความเชื่อ คือ ด้านทิศอุดรนี้ (ทิศเหนือ)  ถือว่าเป็นเดชเมือง  มีวัดเชียงยืน
เป็นเดชเมือง อันมีชื่อเรียกว่า " วัดฑีฆาชีววัสสาราม " ในอดีตเคยเป็นวัดหลวง  และ  ที่ประทับของพระปฐมสังฆราชเจ้าสังฆนายกองค์แรก  ของอาณาจักรล้านนา   มีโบราณสถาน  ที่เป็นมกรดก

 

ทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าได้แก่  พระมหาธาตุเจดีย์ พระอุโบสถรูปทรงแปดเหลี่ยม และ  พระประธานในวิหารของวัดนามว่า   " พระสัพพัญญูเจ้าเดชเมือง "  สิ่งที่เคารพสักการะบูชาเก่าแก่  ที่มีความสำคัญมาก  อยู่คู่กับเมืองเชียงใหม่มาแต่โบราณ  ซึ่งในอดีตนั้นท้าวพระยามหากษัตริย์ที่มาปกครองเมืองเชียงใหม่  หรือ  ในยามที่จะออกรบ  และ  หลังรบกลับมา  ก่อนจะเข้าประตูเมืองก็จะต้องมาทำพิธีถวายสักการะบูชา  เพื่อความเป็นศิริมงคลที่ยั่งยืนบัยดานให้พ้นจากภัยพิบัติอุปสรรคต่างๆ

         สถานที่ตั้ง เลขที่ ๑๖๐ ถ.มณีนพรัตน์ ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   โทร. 053215618

 


แหล่งที่มา :