ไม้เทพทาโร..ของดี..จ. ตรัง

18 มี.ค 2557      6132 views

แชร์ทั้งหมด 18 ครั้ง

Facebook share Twitter share Print

ไม้เทพทาโร มีชื่อสามัญไทยว่า "จวงหอม” "จะไค้หอม” "จะไค้” ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cinnarnomum Porrectum Kosterm วงศ์ Lauraceae เทพทาโรเป็นต้นไม้สูง ๑๐-๓๐ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กิ่งออ่นเกลี้ยง และมักจะมีคราบขาว เปลือกสีเทาอมเขียว หรือสีน้ำตาลคล้ำแตกเป็นร่องตามยาว ลำต้นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ ยาว ๗-๑๐ ซม. ดอกสีขาว หรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อ เป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ผลกลมเล็ก สีเขียว พบมากในภาคใต้

การใช้ประโยชน์

มีปรากฏหลักฐานการใช้ประโยชน์ของไม้เทพทาโร หรือจวงหอมมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยดังปรากฏในไตรภูมิพระร่วง พ.ศ. ๑๘๘๘ กล่าวถึงการบูชาจักรรัตนะ ผู้คนจะแต่งตัว "ทากระแจงจวงจันทร์น้ำหอมและนำเอาข้าวตอกแลดอกไม้บุปผชาติ เทียนและธูปวาสวาลาและกระแจะจวงจันทน์น้ำมันหอม มาไว้มานพคำรพวันหนา การบูชาแก่กงจักรแล้วนั้น” ในสมัยโบราณ เทพทาโรใช้ทำเครื่องหอม ประทินผิว ธูปหอม ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา ในชนบท เทพทาโรยังมีประโยชน์ทางยา ในเปลือกมีน้ำมันระเหย ใบมีกลิ่นหอมใช้เป็นเครื่องเทศ และเนื้อไม้มีกลิ่นหอมใช้ในการก่อสร้าง เครื่องเรือน ของใช้ เชื่อว่าป้องกันตัวเรือด ตัวไร มอด แมลงต่างๆ ปัจจุบันไม้เทพทาโรนำมาใช้ประโยชน์ในงานแกะสลักทำประดิฐ กรรมต่างๆ และส่งเสริมให้กลายเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อของอำเภอ ห้วยยอด จังหวัดตรังเช่น ผลิตภัณฑ์ไม้เทพทาโรถ้ำเลเขากอบ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ ต. เขากอบ อ. ห้วยยอด จ. ตรัง โดยนำตอไม้และรากเทพทาโรที่ถูกโค่นทิ้งเป็นจำนวนมากมาใช้ประดิษฐ์ จึงถือว่าไม่เป็นการทำลายทรัพยากร แต่เป็นการนำวัตถุดิบที่ไร้ค่ามาเพิ่มมูลค่าขึ้น ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไม้เทพทาโรเป็นสินค้าของที่ระลึกในรูปแบบต่างๆ


แหล่งที่มา :