ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน

24 พ.ค. 2561      14563 views

แชร์ทั้งหมด 22 ครั้ง

Facebook share Twitter share Print

ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน

หมู่บ้านขุนสมุทรจีนมีอายุกว่า 300 ปีมาแล้ว ตั้งอยู่บนแหลมขนาดเล็กที่ยื่นออกไปในทะเล อดีตเป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าจากเรือสำเภาจีน บริเวณใกล้กับปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่เป็นเส้นทางผ่านของเรือสินค้าและเรือพาหนะของประเทศต่างๆ เข้าสู่บางกอกและกรุงศรีอยุธยา ประชากรส่วนใหญ่มีบรรพบุรุษเป็นชาวจีนอพยพมากับเรือสำเภา ส่วนใหญ่มาค้าขายบริเวณวัดแหลมฟ้าผ่าเดิม 

ปัจจุบันหมู่บ้านขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปราการ เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่วิกฤติที่มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง แต่เดิมเป็นพื้นที่ยื่นไปในทะเลมากกว่าปัจจุบันกว่า 4 กิโลเมตร สามารถปลูกผัก ผลไม้ได้ และทำประมง เดินเรือได้ดี คล้ายกับเมืองปากน้ำ สมุทรปราการ ภายหลังเกิดการพังทลายของดินและเกิดปัญหาน้ำท่วม เนื่องมาจากการใช้เรือขุดขุดโคลนสันดอนไปทิ้งกลางทะเล จึงทำให้ดินชายฝั่งไหลเลื่อนลงสู่ทะเลจมหายไป ร่วมกับกับการตัดไม้ป่าชายเลน และภาวะโลกร้อน ชาวบ้านที่อยู่ริมน้ำต้องย้ายบ้าน 10 ปีต่อครั้ง บางบ้านย้ายมาครั้งที่ 7 เข้ามาอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินเรื่อยๆ รวมทั้งเกิดภัยธรรมชาติมากมาย เช่นคลื่นยักษ์ น้ำเค็ม จำนวนสัตว์น้ำน้อยลง แผ่นดินทรุด 

แหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน

1. วัดขุนสมุทรจีน 
            วัดขุนสมุทราวาส ตั้งอยู่ที่บ้านขุนสมุทร หมู่ที่ 9 ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 17 กรกฏาคม พ.ศ. 2510 โดยมี นายประเทือง เจริญนาค และผู้ใหญ่หั่น เข่งสมุทร เป็นผู้ดำเนินการสร้าง วัดขุนสมุทราวาส เป็นวัดไทยที่ในปัจจุบันล้อมรอบไปด้วยน้ำทะเลเนื่องจากพื้นดินรอบๆถูกน้ำทะเลกถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนพื้นดินหายไป พื้นด้านล่างของวัดถูกยกให้สูงขึ้นเพื่อไม่ให้น้ำทะเลกัดเซาะจนพังลง ซึ่งรวมทั้งโบสถ์และกุฏิที่พระสงฆ์จำวัดอยู่ด้วย

            วัดขุนสมุทรจีน หรือ วัดขุนสมุทรทราวาส เป็นวัดที่อยู่ติดกับ ปากอ่าวทะเล ตั้งอยู่ที่บ้านขุนสมุทร ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ สร้างติดอยู่กับ ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน วัดแห่งนี้ประสบปัญหา ถูกน้ำทะเลกัดเซาะ และน้ำท่วม ทางวัดจึงต้องยกพื้นโบสถ์ และกุฏิให้สูง เพื่อให้พ้นจากน้ำทะเล
นักท่องเที่ยวที่สนใจ สามารถติดต่อนั่งเรือ ใช้เวลาประมาณ 10 นาที เข้าเยี่ยมชมได้ ซึ่งเรือจะพาไปส่งถึงท่าเรือของทางวัด ตลอดเส้นทาง จะได้ชมธรรมชาติ ที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ และนกน้ำอีกหลายชนิด จากนั้นต้องปั่นจักรยาน ไปอีก 2 กิโลเมตร
            สิ่งน่าสนใจภายในวัด ต้องมาเยี่ยมชม โบสถ์ที่จมน้ำทะเล ไปเกือบครึ่งหลัง ปัจจุบันโบสถ์นี้ ก็ยังสามารถประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้ ภายในประดิษฐาน หลวงพ่อปากแดง พระประธานด้านนอก มีศาลาไม้ริมทะเล ประดิษฐานหลวงพ่อโต และหลวงปู่ทวด ส่วนอีกด้าน จะเป็นเก๋งจีนที่ประดิษฐานองค์เจ้าแม่กวนอิม ส่วนบริเวณภายนอกเงียบสงบ มีบริเวณให้นั่งพักรับลมริมทะเล  รอบตัวโบสถ์ยังมีร่องรอยของน้ำทะเลท่วมอยู่ ซึ่งทางวัดไม่ได้ปรับแต่งอะไร ยังคงสภาพเดิมอยู่ตลอดเวลา

            การเดินทาง จากแยกพระประแดง ใช้เส้นทางถนนสุขสวัสดิ์ มุ่งหน้าไปอำเภอพระสมุทรเจดีย์จะเจอสามแยกพระสมุทรเจดีย์ ให้เลี้ยวขวา แล้วขับตรงไป 7 กิโลเมตรแล้วสะพานสรรพสามิตแล้วเลี้ยวขวา ขับตรงไปอีก 7 กิโลเมตรจะเจอท่าเรือป้ารี่ จากนั้นให้ต่อเรือไปยังวัด


2. พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน

           หมู่บ้านขุนสมุทรจีนมีอายุกว่า 300 ปีมาแล้ว ตั้งอยู่บนแหลมขนาดเล็กที่ยื่นออกไปในทะเล อดีตเป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าจากเรือสำเภาจีน บริเวณใกล้กับปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่เป็นเส้นทางผ่านของเรือสินค้าและเรือพาหนะของประเทศต่างๆ เข้าสู่บางกอกและกรุงศรีอยุธยา ประชากรส่วนใหญ่มีบรรพบุรุษเป็นชาวจีนอพยพมากับเรือสำเภา ส่วนใหญ่มาค้าขายบริเวณวัดแหลมฟ้าผ่าเดิม 

           ปัจจุบันหมู่บ้านขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปราการ เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่วิกฤติที่มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง แต่เดิมเป็นพื้นที่ยื่นไปในทะเลมากกว่าปัจจุบันกว่า 4 กิโลเมตร สามารถปลูกผัก ผลไม้ได้ และทำประมง เดินเรือได้ดี คล้ายกับเมืองปากน้ำ สมุทรปราการ ภายหลังเกิดการพังทลายของดินและเกิดปัญหาน้ำท่วม เนื่องมาจากการใช้เรือขุดขุดโคลนสันดอนไปทิ้งกลางทะเล จึงทำให้ดินชายฝั่งไหลเลื่อนลงสู่ทะเลจมหายไป ร่วมกับกับการตัดไม้ป่าชายเลน และภาวะโลกร้อน ชาวบ้านที่อยู่ริมน้ำต้องย้ายบ้าน 10 ปีต่อครั้ง บางบ้านย้ายมาครั้งที่ 7 เข้ามาอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินเรื่อยๆ รวมทั้งเกิดภัยธรรมชาติมากมาย เช่นคลื่นยักษ์ น้ำเค็ม จำนวนสัตว์น้ำน้อยลง แผ่นดินทรุด 

           การจัดทำพิพิธภัณฑ์เริ่มต้นจากการที่ชาวบ้านพบเศษซากวัตถุโบราณบริเวณป่าชายเลน ทางด้านทิศใต้ที่ติดกับวัดขุนสมุทรทราวาสและบริเวณชายฝั่งไปจนถึง หมู่ที่ 8 บ้านแหลมสิงห์ พบเศษซากวัตถุโบราณ ประเภทถ้วยชามกระเบื้อง ไห ซากเตาเผาโบราณ เครื่องใช้ เครื่องประดับและเงินตราที่ใช้แลกเปลี่ยนในสมัยโบราณ นอกจากนี้ยังพบทองรูปพรรณ เช่น แหวนทองคำ สร้อยข้อมือ เบี้ยและเหรียญกษาปณ์รัชกาลต่าง ๆ ซึ่งได้ทำการสำรวจแล้วคาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 200 ปี ปัจจุบันยังพบเศษถ้วย ชาม ไหโบราณปะปนอยู่ในสุสานหอยและชายฝั่งทะเลอีกมากมาย โดยวัตถุโบราณที่พบส่วนใหญ่มีสภาพชำรุด แตกหักเสียหาย เพราะชาวบ้านไม่ทราบถึงกรรมวิธีในการเก็บรักษาที่ถูกต้อง มีเพียงส่วนน้อยที่พบแล้วนำมาเก็บรักษาอย่างถูกวิธีก็จะคงสภาพที่สมบูรณ์ ปัจจุบันโบราณวัตถุเหล่านี้เก็บรวบรวมไว้ที่พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน และบ้านผู้ใหญ่สมร เข่งสมุทร

          เครื่องถ้วยชามที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นเครื่องถ้วยชามจีน พบเครื่องถ้วยชามเวียดนามและของไทยบ้างแต่น้อย เครื่องถ้วยชามจีน ประกอบด้วย ถ้วย โถ จานชามและช้อน เป็นเครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่งเขียนสีครามใต้เคลือบ แบ่งเป็นลวดลายได้ 24 รูปแบบ อาทิ ถ้วยชามสีขาวภายนอกมีลายครามเขียนลวดลายด้วยเส้นอิสระลายก้านขดสลับกับตัวอักษรจีน "ซ่วงสี่" แปลว่า มงคลคู่ กำกับ ด้านในไม่มีลวดลาย จากแหล่งเตาเต๋อฮั่ว มณฑลฝูเจียน สมัยราชวงศ์ชิงตอนปลาย เป็นต้น 

          เครื่องเคลือบและเครื่องปั้นดินเผาอื่นๆ อาทิ ไหดินเผาเคลือบน้ำยาเคลือบ สีดำ สีน้ำตาล จากแหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อยจังหวัดสิงห์บุรี หม้อตาล หม้อดินเผาสีน้ำตาล กระปุกดินเผา เต้าปูน เครื่องประดับ อาทิ แหวน กำไลสำริด กำไรแก้ว  นอกจากนี้ภายในพิพิธภัณฑ์ยังจัดแสดงเครื่องมือและเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น เครื่องชั่งจีน เครื่องโม่แป้ง เรือพาย เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เป็นต้น และยังจัดแสดงแผนที่การเดินทางของบรรพบุรุษ บรรพบุรุษของประชาชน

         หมู่บ้านขุนสมุทรจีนส่วนหนึ่งมาจากมณฑลกวางตุ้งและโบราณวัตถุส่วนใหญ่ที่พบที่นี่มาจากมณฑลฝูเจียนหรือฝูโจว พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน บริหารจัดการโดยคนท้องถิ่น เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ศิลปะวัฒนธรรม วิถีชีวิต การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิศาสตร์ ธรรมชาติวิทยาและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในชุมชน  โดยเริ่มต้นมาจากการประชุมเวทีประชาคมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2550 ได้มีชี้แจงทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ การสอบถามความคิดเห็น ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์จากคนในชุมชน โดยได้รับความช่วยเหลือในการจัดทำพิพิธภัณฑ์จากองค์การบริหารส่วนตำบล มูลนิธิเล็ก-ประไพ  ด้านวิชาการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร สำหรับการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ มีการจัดแบ่งคณะกรรมการและบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายมัคคุเทศก์ ฝ่ายสถานที่ ฝ่ายการเงินและจัดหาทุน เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดมาจากความร่วมมือของคนในชุมชนเอง


3. โฮมสเตย์ขุนสมุทรจีน
  ติดต่อสอบถาม :  คุณวิษณุ  เข่งสมุทร 
  โทรศัพท์มือถือ  085 020 0024 , 095 947 6617 , 096 192 2901

จุดเด่น :
หมู่บ้านขุนสมุทรจีน เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครเพียง 20 กิโลเมตร เป็นชุมชนที่ได้ชื่อว่าใช้เรือในการสัญจรอย่างแท้จริง โดยการจะไปให้ถึงหมู่บ้านต้องโดยสารโดยเรือหางยาว ที่ท่าเรือป้าลี่ เป็นที่ตั้งของวัดขุนสมุทรธาวาส หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนามว่า วัดขุนสมุทรจีน ซึ่งเป็นวัดที่อยู่กลางทะเล สาเหตุที่วัดนี้อยู่กลางทะเลเนื่องจากพื้นดินรอบๆ ถูกน้ำทะเลกกัดเซาะจนพื้นดินหายไป พื้นด้านล่างของวัดรวมทั้งโบสถ์และกุฏิ ถูกยกให้สูงขึ้นเพื่อไม่ให้น้ำทะเลกัดเซาะจนพังลง นอกจากนี้ยังมีความอุดมสมบูรณ์ทางทะเลที่มีทั้งหอยกะพง ปู ปลา กุ้ง หอย มีต้นจากปลูกรายสองข้างทางให้ชาวบ้านได้ตัดไปใช้เพื่อป้องกันการกัดเซาะของบ้าน และยังมีนกมาอาศัยอยู่กว่า 200 ชนิด มีป่าชายเลนทีอุดมสมบูรณ์ พื้นที่ประมาณ 10 ไร่ มีวังกุ้งวังปลาให้นักท่องเที่ยวสามารถมาจับหอยจับกุ้งแบบคนในชุมชน เป็นการเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนที่นี่ด้วย 

กิจกรรมที่น่าสนใจ :

  1. ชมพิพิธภัณฑ์ ที่จัดแสดงวัตถุโบราณ เช่น เครื่องปั้นดินเผาโบราณ ถ้วยชามกระเบื้อง ไห ซากเตาเผาโบราณ เครื่องใช้ เครื่องประดับ เงินตราที่ใช้แลกเปลี่ยนในสมัยโบราณ เบี้ย เหรียญกษาปณ์รัชกาลต่างๆ และเหรียญกษาปณ์จีน
  2. ศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน ดูวิถีชีวิตการตั้งถิ่นฐาน การอพยพ และการประกอบออาชีพของชุมชน ที่ต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติอย่างโดดเดี่ยวและอดทนเพื่ออนุรักษ์ผืนแผ่นดิน 
  3. ปั่นจักยานดูวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน
  4. สักการะ ศาลเจ้าพ่อหนุ่มน้อยลอยชาย
  5. เที่ยวชมป่าชายเลน
  6. พายเรือ
  7. งมหอย 
  8. ตกปลา,ปู ,กุ้ง

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง :

  1. วัดขุนสมุทรธาวาส (วัดกลางทะเล) 
  2. พิพิธภัณฑ์บ้านขุนสมุทรจีน 
  3. ศาลเจ้าพ่อหนุ่มน้อยลอยชาย 

การเดินทาง

มาถนนทางศรีนครินทร์ ตรงมาสามแยกการไฟฟ้าปากน้ำเลี้ยวขวาตรงไปทางศาลากลางเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาสี่แยกตรงธนาคารกรุงเทพตรงไปท่าเรือข้ามฟากไปพระสมุทรเจดีย์ขึ้นฝั่งพระสมุทรเจดีย์ไปเส้นทางถนนสุขสวัสดิ์เลี้ยวซ้ายไปทางป้อมพระจุลฯ ขึ้นสะพานข้ามคลองสรรสามิตเลี้ยวขวาเข้าไปบ้านสาขลา แล้วต่อเรือหางยาวที่ท่าเรือป้าลี่ระหว่างทางก่อนถึงบ้านสาขลา
เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง สาย 20 ไปลงที่วัดพระสมุทรเจดีย์ และโดยสารรถสองแถว และรถตู้  พระสมุทรเจดีย์ – นาเกลือ เข้ามาลงเรือที่ท่าเรือป้าลี่ ประมาณ 10 นาทีก็จะถึงหมู่ 9 บ้านขุนสมุทรจีน


 


แหล่งที่มา :