วัดพระธาตุขิงแกง

3 ธ.ค. 2562      2130 views

แชร์ทั้งหมด 2 ครั้ง

Facebook share Twitter share Print

วัดพระธาตุขิงแกง วัดเก่าแก่ที่สำคัญของอำเภอจุน ดินแดนที่ครั้งหนึ่งเป็นเมืองโบราณสมัยเดียวกับเมืองพะเยา พระธาตุขิงแกงแห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของอำเภอจุน องค์พระธาตุได้บรรจุพระเกศาธาตุและพระธาตุกระดูกเท้าข้างขวาของพระพุทธเจ้าไว้ มีตานานพระธาตุขิงแกงจากพระธรรมตานานพระธาตุขิงแกงดังนี้ ปางเมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ในเชตวัดอาราม เมืองสาวัตถี เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้สัพพัญญูได้ ๑๕ พรรษา ในค่าคืนหนึ่งพระพุทธองค์ทรงบรรทมในคันธกุฏิ ในพระเชตวัดเวลาใกล้รุ่งทรงดาริว่าบัดนี้เราก็มีอายุได้ ๖๐ ปีแล้ว แล้วเมื่ออายุ ๘๐ ปี ก็จักปรินิพพานและควรที่เราจะอธิษฐานธาตุให้ย่อยเป็น ๓ ประการ ให้คนและเทวดาแจกไว้เป็นที่บูชา เสมือนแทนตัวเราเมื่อยังอยู่นี้เถอะ เหล่าพุทธอายุน้อยนักสัตว์ทั้งหลายอันล่วงแล้ว แต่ก่อนได้อธิษฐานธาตุให้ย่อยแล้วได้ไปไว้ตั้งยังสถานที่ใด เราก็จักทานายยังสถานที่นั้น พระพุทธองค์ทรงดาริว่าเราควรจะไปโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายและตั้งศาสนาไว้ในมัชฌิมาประเทศ กับปัจจัยประเทศและเมื่อนั้นพระพุทธองค์ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณาธิคุณ หลังออกพรรษาแล้ว พระองค์พร้อมด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย มีพระโสณเถระ พระรัตนเถระ และพระอานันท์เถระ เป็นบริวาร มีพระอินทร์เป็นผู้กางฉัตร ตามเสด็จพระพุทธองค์และยังมีพระเจ้าอโศก เจ้าเมืองกุสินารายญ์ ถือรองเท้าทิพย์ และไม้เท้าเสด็จตามอุปฐากพระพุทธองค์ เสด็จออกจาป่าเชตวันมาตามลาดับในวันแรม ๑ ค่า เดือนอ้าย พระพุทธเจ้าก็เสด็จออกจากเมืองสาวัตถีมาโดยลาดับ มาสู่นับพรมรับข้าวบิณฑบาตแม่ครัวแล้ว พระองค์ก็เลียบขึ้นมาตามฝั่งแม่น้าระมิงค์ เสด็จถึงที่นั้นประทานพระเกษาธาตุ แล้วก็เสด็จมาถึงดอยสุเทพ มาสู่บุปผาราม ฝาง เชียงดาว แล้วไปตับเต่าถึงสบฝาง ฉันข้าวข้างแม่น้า และเลียบฝั่งแม่น้าเสด็จขึ้นไปแสนหวีถึงวิเทหนคร อยู่จาพรรษาที่นั้น เทศนาเนมิราช สุทินราชและนาราถจปัณณะ หลังจากออกพรรษาแล้วก็เสด็จมาเมืองลือ ประทานพระเกษาธาตุเมืองสิงหะ แล้วเสด็จมาประทานพระเกศาธาตุที่จอมทอง แล้วมาเมืองพยาด มาเมืองเชียงแสนเสด็จไปดอยตุง แล้วไปภูเขาปูแก้ว และไปจอมกิตติ ไปสบจันผาประทับรอยพระบาทที่นั่น และแล้วพระองค์ก็ยืนห่มจีวรแล้วไปประทับนอนอยู่เหนือก้อนหินก้อนหนึ่ง จากนั้นก็เสด็จไปยอดดอยแห่งนั้น และตรวจดูสัตว์โลกทั้งหลาย จึงเสด็จไปสันทรายประทับรอยพระบาทที่นั่น จึงเสด็จมาหัวด้วน ทรงเหยียบพระบาทให้ยักษ์อุปฐาก จึงเสด็จไปจอมแว่ดูปงปู่เต้า และเมืองพะเยา ยังมียักษ์ตนหนึ่งมันไม่ได้กินอาหารมานานเจ็ดวันแล้ว พบเห็นพระพุทธเจ้ามันหมายจะจับกินแต่ไล่พระองค์ไม่ทันไล่จนหมดแรง ณ ที่นั้นพระพุทธเจ้าก็ได้เอาฝ่าเท้าเหยียบก้อนหินก้อนหนึ่ง พอยักษ์เห็นรอยเท้าพระพุทธองค์แล้วมันก็กล่าวว่า “ชายผู้นี้มีเรี่ยวแรงนักหนอ เหยียบจนยุบเป็นรอย เหตุนี้เราจึงกินมันไม่ได้” และแล้วพระพุทธองค์ก็ปรากฏให้ยักษ์เห็นพระองค์ จึงทาให้พระธาตุขิงแกงมีรูปปั้นยักษ์ยืนอยู่บริเวณพระธาตุ เพื่อคอยดูแลปกป้องพระธาตุแห่งนี้ และด้านหน้าพระวิหารจะพบกับรอยพระพุทธบาทขนาดใหญ่ดังตานานที่กล่าวไว้ พระธาตุขิงแกง เป็นองค์เจดีย์ที่มีความงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ มีการผสมผสานระหว่างรูปแบบงานศิลปะของล้านนาและมีกลิ่นอายของงานศิลปะไทใหญ่ผสมผสานเข้ากันอย่างลงตัว เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ ประดิษฐานพระพุทธรูปในซุ้มเรือนแก้วทั้งสี่ด้าน ช่วงกลางของเจดีย์ประดับกระจกสี องค์เจดีย์มีกาแพงแก้วล้อมรอบและมีเจดีย์องค์บริวารทั้งสี่มุม องค์พระธาตุเป็นทรงล้านนาคล้ายกับพระธาตุสบแวนที่อำเภอเชียงคา แต่ขนาดใหญ่กว่า ปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของจังหวัดพะเยา และในวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๕ หรือที่ทางภาคเหนือเรียกว่า เดือน ๗ เป็ง จะมีประเพณีสรงน้าพระธาตุขิงแกงทุกปี