ร่วมงานแถลงข่าวการค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ ตัวที่ 11 (วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูแอนซิส)

12 พ.ย. 2562      673 views

แชร์ทั้งหมด 1 ครั้ง

Facebook share Twitter share Print

ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดหนองบัวลำภู (นายดลจินดา โมธรรม) ได้เข้าร่วมงานแถลงข่าวการค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ ตัวที่ 11 ของประเทศไทย (วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูแอนซิส) ในวันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ บ้านตาดไฮ บริเวณสะพานเชื่อมฮัก @ตาดไฮ อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำบอง (อันเนื่องมาจากพระราชดำริ) ตำบลโคกม่วง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู (นายสมเจตน์ จงศุภวิศาล) เป็นประธาน พร้อมด้วยรองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี (นายมนตรี เหลืองอิงคะสุต) และอาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (นายอดุลย์ สมาธิ) ร่วมแถลงข่าว หนองบัวลำภู /ค้นพบ ซากไดโนเสาร์ กินเนื้อขนาดกลาง สายพันธ์ใหม่ ตัวแรกของโลก “วายุแรพเตอร์ ที่อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ วันนี้ 12 พฤศจิกายน 2562 กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดแถลงข่าว การค้นพบไดโนเสาร์ตัวที่ 11 ของไทย มีชื่อว่า "วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส" (Vayuraptor nongbualamphuensis) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดกลาง สกุลและชนิดใหม่ของโลก พบที่หลุมขุดค้นภูวัด อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ จ.หนองบัวลำภู โดยคุณพลาเดช ศรีสุข เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวิน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งชื่อตามเทพเจ้าฮินดู ‘วายุ’ [ภาษาสันสกฤต] หรือ ‘พระพาย’ สื่อว่าเจ้าไดโนเสาร์ตัวนี้มีความว่องไว จากลักษณะกระดูกหน้าแข้งที่ยาวเรียว ตัวอย่างต้นแบบของ วายุแรพเตอร์ ประกอบไปด้วยกระดูกหน้าแข้ง ข้อเท้า กระดูก coracoid และกระดูกชิ้นอื่นๆที่ไม่สมบูรณ์นัก มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 4-4.5 เมตร ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม basal Coelurosauria มีอายุ 130 ล้านปี ในยุคครีเทเชียส (Cretaceous) ซึ่งเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของไดโนเสาร์ นายมนตรี เหลืองอิงคะสุต รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภู จัดอยู่ในกลุ่มเบซอลซีลูโรเซอร์ basal coelurosaurs ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนกมากกว่า ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ซึ่งซากดึกดำบรรพ์ที่ถูกค้นพน ประกอบไปด้วย กระดูกขาหน้าแข้ง และข้อเท้า กระดูกซี่โครง กระดูกหัวหน่าว กระดูกข้อนิ้ว กระดูกจะงอยบ่า กระดูกน่อง นายสมเจตน์ จงศุภวิศาลกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ยังได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ หลากหลายประเภท ได้แก่ นอกจากนั้นแล้วทางกรมทรัพยากรธรนี ยังได้พัฒนาแหล่งซากดึกดำบรรพ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยว โดยจัดสร้างแหล่งพิพิธภัณฑ์และอาดารคลุมหลุมขุดค้นพบ 2 แห่ง ในบริเวณอุทยานแห่งชาติภูเก้า – ภูพานคำ ที่เป็นแหล่งพบซากดึกดำบรรพ์หลากหลายประเภท ได้แก่ กระดูหกไดโนเสาร์ ฟันฉลามน้ำจืด เกล็ดปลา กระดองเต่า จระเข้ หอยน้ำจืด รอยตีนไดโนเสาร์ และไม้กลายเป็นหิน และได้มอบให้ทางอุทยานฯ เป็นผู้ดูแลใช้ประโยชน์ ส่วนชิ้นซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์สายพันธ์ใหม่ของโลก วายุแรพเตอร์ หนองบัวเอนซิส กรมทรัพยากรธรธีจะดำเนินการประกาศให้เป็นซากดึกดำบรรพ์ ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ ต่อไป นายอดูลย์ สมาธิ นักวิจัย จากศูนย์วิจัยบรรพชีวิน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์สายพันธ์ใหม่ของโลก วายุแรพเตอร์ หนองบัวเอนซิส ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2531 เมื่อทำการศึกษา เทียบเคียง กับซากดุกดำบรรพ์ไดโนเสาร์จากหลายประเทศ ยังไม่มีการค้นพบ ชนิดและสายพันธ์นี้ จึงถือได้ว่า เป็นการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ ชนิดสายพันธ์ใหม่ ตัวแรกของโลก ที่จังหวัดหนองบัวลำภู