อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำบอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

25 ก.ค. 2561      1382 views

แชร์ทั้งหมด 0 ครั้ง

Facebook share Twitter share Print

ความเป็นมาของโครงการ
เมื่อปี 2534 ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี (ในขณะนั้น) ได้ขอรับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณให้มีการก่อสร้างอ่างเก็บกักน้ำห้วยน้ำบอง บ้านตาดไฮ หมู่ที่ 5 ตำบลโคกม่วง อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดหนองบัวลำภู) ต่อมาเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2535 สำนักราชเลขาธิการ ได้แจ้งว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำบองฯไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และมีพระราชดำรัส ความว่า “เป็นโครงการที่ ดีมาก สมควรสนับสนุน แต่ต้องไม่มีปัญหาเรื่องที่ดิน”

วัตถุประสงค์โครงการ  : การก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำบอง หมู่ที่ 5 บ้านตาดไฮ ตำบลโคกม่วง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 

  • เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ สนับสนุนการเกษตรกรรม และการอุปโภค-บริโภค 
  • เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำชนิดต่างๆ
  • ช่วยเสริมอาชีพของราษฎรให้มีรายได้จากการทำประมง 
  • เป็นสถานที่สำหรับการท่องเที่ยวและพักผ่อน 
  • ช่วยพื้นที่อุทยานฯ ให้เกิดความชุ่มชื้น เป็นแหล่งอาหารสัตว์ป่า
  • บรรเทาอุทกภัยให้กับพื้นที่ด้านท้ายโครงการ

ระยะเวลาดำเนินการก่อสร้าง  ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554 – 2558
ผลการดำเนินการ  กรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำบองพร้อมระบบส่งน้ำ ขนาดสันทำนบดินกว้าง 8.0 เมตร ยาว 215 เมตร สูง 18.00 น.
ขนาดความจุอ่างเก็บน้ำ 20.80 ล้านลูกบาศก์เมตร ระยะเวลาในการดำเนินงานก่อสร้างประมาณ 4 ปี โดยมีพื้นที่ในการดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำบอง จำนวน 3,677 ไร่

  • ปี 2553 สำนักงาน กปร. ได้ดำเนินการสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างที่ทำการบ้านพัก ถนนภายในโครงการและอาคารระบายน้ำล้น เสร็จเรียบร้อยแล้ว
  • กรมชลประทานมีแผนงานสนับสนุนงบประมาณปี 2555-2557 อยู่ระหว่างดำเนินงานก่อสร้างตัวเขื่อนทำนบดินหัวงานและอาคารประกอบ

ประโยชน์ของโครงการ
ทำให้ราษฎรในพื้นที่บ้านตาดไฮ ตำบลโคกม่วง อำเภอโนนสัง จำนวน 200 ครัวเรือน มีน้ำไว้ใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเกษตร และมีพื้นที่รับประโยชน์ จำนวน 12,000 ไร่ รวมทั้งลดปัญหาอุทกภัยในพื้นที่บ้านตาดไฮและพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้ราษฎรสามารถทำการเกษตรได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์น้ำ ทำให้ราษฎรมีอาชีพเสริม และมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีน้ำเพื่อสร้างความชุ่มชื้นและมีระดับน้ำใต้ดินเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ระบบนิเวศน์มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น