ชุมชนท่องเที่ยววัฒนธรรมชนเผ่าไทญ้อ (บ้านโพน)

14 มี.ค 2561      6993 views

แชร์ทั้งหมด 7 ครั้ง

Facebook share Twitter share Print

ประวัติความเป็นมาของชาวไทยญ้อ ถิ่นฐานเดิมของไทยญ้อ อยู่ที่เมืองหงสา แขวงไชยบุรี ของประเทศลาวหรือจังหวัดล้านช้างของไทยสมัยหนึ่ง ไทยญ้อส่วนใหญ่ได้อพยพ มาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ไชยบุรี ปากน้ำสงครามริมฝั่งแม่น้ำโขง (ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน) ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2351 ต่อมาเมื่อเกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ในสมัย รัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2369) พวกไทยญ้อที่เมืองไชยบุรีได้ถูกกองทัพเจ้าอนุวงศ์กวาดต้อนไปแล้วให้ไปตั้งเมืองอยู่ ณ เมืองปุงลิง ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (อยู่ในเขตแขวงคำม่วนประเทศลาว) อยู่ระยะหนึ่งต่อมาได้กลับมาตั้งเมืองขึ้นใหม่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงตั้งเป็นเมืองท่าอุเทนเมื่อ พ.ศ. 2373 คือ บริเวณท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน ไทยย้อเป็นชาวไทยในภาคอีสาน อีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมักเรียกตัวเองว่า ไทยย้อ เช่น ชาวย้อในจังหวัดสกลนคร , ชาวย้อ ในตำบลท่าขอนยาง(เมืองท่าขอนยาง) อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม , ชาว ย้อ ในอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม และชาวย้อในตำบลดงเย็น อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ภาษาและสำเนียงของชาวย้ออาจ ผิดเพี้ยนไปจากชาวอีสานทั่วไปบ้างเล็กน้อย ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวย้อ มีผู้ค้นพบว่าเดิมอยู่แคว้นสิบสองปันนา หรือ ยูนาน ต่อมาชาวย้อบางพวกได้อพยพลงมาตามลำน้ำโขง เพื่อเลือกหาที่ตั้งบ้านตั้งเมืองที่อุดมสมบรูณ์กว่าที่อยู่เดิมจนในที่สุด ชาวย้อกลุ่มหนึ่งได้พบว่าตรงปากน้ำสงครามริมฝั่งโขงเป็นที่อุดมสมบรูณ์มีปลา ชุกชุม จึงได้จัดตั้งขึ้นเป็นเมืองไชยบุรี เมื่อ พ.ศ.2350 (สมัยราชกาลที่ 1) ต่อมาเมื่อเจ้าอนุวงษ์ เวียงจันทน์เป็นกบฏต่อกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2369 ไทย ย้อเมืองไชยบุรีถูกกองทัพเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์กวาดต้อนให้อพยพข้ามโขงไป ด้วย โดยให้ไปตั้งอยู่ที่เมืองหลวงปุงเลง เมืองคำเกิด เมืองคำม่วน ในแขวงคำม่วน ของลาว ต่อมากองทัพไทย ได้กวาดต้อนให้ไทยย้อ ให้อพยพข้ามโขง กลับมาอีกครั้งหนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไทยย้อกลุ่มหนึ่งตั้งขึ้นเป็นเมืองท่าอุเทน เมื่อ พ.ศ.2373 ให้ ไทยย้อที่อพยพข้ามโขงมาตั้งที่บ้านท่าขอนยาง เป็นเมืองท่าขอนยาง ขึ้นเมืองกาฬสินธุ์ (ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม)ให้ท้าวคำก้อนจากเมืองคำเกิดเป็นพระสุวรรณภักดี เจ้าเมืองท่าขอนยาง จึงมีไทยย้อ ที่ตำบลท่าขอนยาง บ้านกุดน้ำใส บ้านยาง บ้านลิ้นฟ้า บ้านโพน และยังมีไทยย้อที่บ้านนายุง จังหวัดอุดรธานี บ้านกุดนางแดง บ้านหนามแท่งอำเภอพรรณานิคม บ้านจำปา บ้านดอกนอ บ้านปุ่งเป้า บ้านนาสีนวน อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร บ้านโพนสิม บ้านหนองแวง บ้านสา อำเภอยางตลาด บ้านหนองไม้ตาย อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ไทยย้อเมืองสกลนคร อพยพมาจากเมืองมหาชัย (แขวงคำม่วนของลาว) มาตั้งอยู่ริมน้ำหนองหานสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งขึ้นเป็นเมืองสกลนคร เมื่อ พ.ศ.2381(จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1200 เลขที่ 10 หอ จดหมายเหตุแห่งชาติ)ในจังหวัดมุกดาหารมีไทยย้อที่อพยพมาจากเมืองคำม่วนตั้ง บ้านเรือนอยู่ที่ตำบลดงเย็น อำเภอเมืองมุกดาหาร และอยู่ในท้องที่อำเภอนิคมคำสร้อยอีกหลายหมู่บ้าน เผ่าไทยในนครพนม จังหวัดนครพนม ประกอบด้วยชนเผ่าต่าง ๆ รวม ๗ เผ่า ได้แก่ ชาวผู้ไท (ภูไท) ไทยญ้อ ไทยแสก ไทยกะเลิง ไทยโส้ ไทยข่า ไทยลาว (ไทยอีสาน) แต่ละเป่าจะรวมกันเป็นกลุ่ม กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่อำเภอต่าง ๆ

 ประวัติความเป็นมา ความเป็นมาชุมชนบ้านโพน เป็นคนไทยย้อ ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวย้อ มีผู้ค้นพบว่าเดิมอยู่ แคว้นสิบสองปันนา หรือ ยูนาน ต่อมาชาวย้อบางพวกได้อพยพลงมาตามล าน้ำโขง เพื่อเลือกหาที่ตั้ง บ้านตั้งเมืองที่อุดมสมบรูณ์กว่าที่อยู่เดิมจนในที่สุด ชาวย้อกลุ่มหนึ่งได้พบว่าตรงปากน้ำสงครามริม ฝั่งโขงเป็ นที่อุดมสมบรูณ์มีปลา ชุกชุม จึงได้จัดตั ้งขึ ้นเป็ นเมืองไชยบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 1 เจ้าอนุวงษ์ เวียงจันทน์ได้เป็ นกบฏต่อกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2369 ไทยย้อเมืองไชยบุรีถูกกองทัพเจ้าอนุวงษ์ เวียงจันทน์กวาดต้อนให้อพยพข้ามโขงไป ด้วย โดยให้ไปตั ้งอยู่ที่เมืองหลวงปุงเลง เมืองค าเกิด เมือง ค าม่วน ในแขวงค าม่วน ของลาว ต่อมากองทัพไทย ได้กวาดต้อนให้ไทยย้อ ให้อพยพข้ามโขง กลับมา อีกครั ้งหนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไทยย้อกลุ่มหนึ่งตั ้งขึ ้นเป็ นเมืองท่าอุเทน และเป็นชุมชน บ้านโพน ตำบลโนนตาล อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน ชาวไทยย้อ ชุมชนบ้านโพนมี อาชีพด้านเกษตรเป็ นหลัก โดยเฉพาะการปลูกพืชเศรษฐกิจส่วนใหญ่ได้แก่ ข้าว กล้วย อ้อย สับปะรด ยาสูบ และพืชผักตามฤดูกาล รองลงมาได้แก่ อาชีพเลี้ยงสัตว์ และจับสัตว์น ้าในลำน้ำ เนื่องจากว่ามี การตั ้งถิ่นฐานอยู่ใกล้แม่น ้าโขงและแม่น ้าสงคราม อัตลักษณ์ของชุมชนบ้านโพน อัตลักษณ์ของชาวไทยย้อ ชุมชนบ้านโพน จะมีความสามัคคี มีความภาคภูมิใจในความเป็น ชนเผ่าดั ้งเดิม นอกจากจะมีระบบวัฒนธรรมประเพณีดั ้งเดิมที่ท ากันมาตั้งแต่อดีตสิ่งแสดงถึง เอกลักษณ์ของชาติพันธุ์ไทยย้อได้เป็นอย่างดี อีกอย่างหนึ่งก็คือ ภาษาไทยย้อ ชาวบ้านโพนยังคง พูดคุยสื่อสารกันโดยภาษาย้อกันทั้งชุมชน ภาษาไทยย้อจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาไท-กระได มีเฉพาะ ภาษาพูดพื ้นฐานเสียงแตกต่างไปจากภาษาไทยลาว (ภาษาไทยอีสาน) ตรงที่ฐานเสียงอักษรสูง และ เสียงจัตวาจะเน้นหนักในลำคอ เสียงสูง อ่อนหวาน ฐานเสียงสระ เอือ ใอ ในภาษาไทยลาวจะตรง กับฐานเสียงสระ เอีย และ เออ ตามลำดับ เช่น เฮือ เป็น เฮีย ให้ เป็น เห้อ ประโยคว่า อยู่ทางได เป็น อยู่ทางเลอ เจ้าสิไปไส เป็น เจ้านะไปกะเลอ เป็นต้น ประเพณีและพิธีกรรมความเชื่อของชาวไทยย้อนั ้น มีประเพณีเลี ้ยงผีปู่ ตา โดยชาวบ้านจะ สร้างตูบปู่ ตา หรือ โฮงผีปู่ ตา โดยชาวไทยย้อถือว่าผีปู่ ตาคือ ผีบรรพบุรุษที่ตายไปแล้ว แต่ยังมีความ ห่วงใยในความเป็นอยู่ของลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ ส าหรับที่ตั ้งของผีปู่ ตาจะอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ สำหรับ ผีบรรพบุรุษของชาวไทยย้อที่ถือว่าเป็นผีปู่ ตา สำหรับงานบุญของชาวไทยย้อส่วนมากก็เหมือนกับ ชาวอีสานทั่วที่นับถือ พระพุทธศาสนาและ ปฏิบัติตนตาม ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ แหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม ศักยภาพทางการท่องเที่ยววัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ไทยย้อ บ้านโพน พบว่า ชุมชนไทยย้อ บ้านโพน มีความเข้มแข็งทางด้านวัฒนธรรมประเพณี โดยเฉพาะประเพณีเรือไฟบก ในช่วงออกพรรษา ของทุกปี และมีวัดคามวาสี ซึ่งเป็นวัดกลางหมู่บ้านที่ใช้ประกอบพิธีกรรมและประเพณีของชาวไทยย้อ สถานที่ภายในวัด ยังเป็นที่ตั ้งเรือนโบราณชาวไทยย้อ เครื่องมือทำมาหากิน หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็ น พิพิธภัณฑ์ชนเผ่าของชุมชน และยังเป็นที่ตั้งของกลุ่มทอผ้าในหมู่บ้านด้วย ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นอัน แสดงถึงวิถีชุมชนที่น่าสนใจ อันเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ และนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจในวิถี วัฒนธรรมท้องถิ่น ทั ้งภูมิปัญญาในการรักษาโรค การทำเกลือสินเธาว์ การขำขนมจีนแป้งหมัก การจักสาน การทอเสื่อกก ตลอดจนการทอผ้าและการย้อมผ้าสีธรรมชาติจากไม้มงคล ด้วยความ ที่ชุมชนบ้านโพนมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย แต่ยังคงยึดมั่นในขนบประเพณี ตามวิถีไทยย้อที่แตกต่างจาก ชุมชนและชนเผ่าอื่น จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และน่าเรียนรู้สำหรับนักท่องเที่ยวผู้ที่มีความชื่นชอบ ต้องการ เรียนรู้ และสัมผัสวัฒนธรรมพื้นถิ่นอยู่ไม่น้อย อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์ของชาวไทยย้อบ้านโพนให้ นักท่องเที่ยวได้เลือกซื ้อเป็ นของฝากอย่าง ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน ผลิตภัณฑ์เสื่อกก และผลิตภัณฑ์ ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติจากไม้มงคล อีกด้วย

 

ข้อมูลการติดต่อสอบถาม

คุณ สมจิต  ไชยสุระ 0642125239

ผู้ใหญ่ธีรัช  สุวรรณมาโจ 0804030249


แหล่งที่มา :