พระบรมธาตุนาดูน (Phra Borommathat Nadoon)

24 ก.ย. 2561      2239 views

แชร์ทั้งหมด 1 ครั้ง

Facebook share Twitter share Print

เครดิตภาพ : Wichan Sumalee 

เครดิตภาพ : นางสาวณิชชา สมสา

เครดิตภาพ : Wichan Sumalee

เครดิตภาพ : Wichan Sumalee

เครดิตภาพ : Wichan Sumalee

เครดิตภาพ : Wichan Sumalee

พระบรมธาตุนาดูน แน่นอนหลายท่านรู้จักสถานที่แห่งนี้กันดีอยู่แล้ว เพราะที่นี่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของจังหวัดมหาสารคาม สร้างขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้ แต่เรื่องราวนั้นเก่าแก่มาก ที่นี่เป็นเป้าหมายหลักของการมาเยือนจังหวัดมหาสารคาม หากไม่ได้มาไหว้พระธาตุนาดูนก็ถือว่าท่านยังไม่มาถึงเมืองสารคามหรือแม้แต่คนที่เคยมาแล้วก็มักจะกลับมาสักการะสถานที่แห่งนี้อยู่เนื่องๆ ด้วยว่ากันว่าหากมาขอพรให้สมหวังสิ่งใดก้มักจะสมหวังกันทั่วหน้า นี่กระมังที่ผู้คนจึงพูดกันว่าหากมาพระบรมธาตุนาดูนแล้วท่านก็มักจะได้กลับมาอีก

สำหรับท่านที่ยังไม่เคยมา ลองมาเรียนรู้เรื่องราวของสถานที่แห่งนี้ไปพร้อมๆกัน เพื่อจะได้รู้ว่าเหตุใดสถานที่แห่งนี้จึงถูกขนามนามว่า พุทธมณฑลอีสาน เริ่มกันที่เรื่องราวในสมัยโบราณที่มีเรื่องราวเล่าขานถึงนิทานเรื่อง จำปาสี่ต้น ที่มีความเกี่ยวพันกับชื่อเมืองโบราณนามว่า นครจัมปาศรี เมื่อนักโราณคดีสืบค้นกับพบว่า เมืองแห่งนี้นั้นมีอยู่จริงตามตำนาน โดยศูนย์กลางตั้งอยู่ที่บริเวณ อำเภอนาดูน มีหลักฐานทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุ รวมถึงจารึกที่บ่งชี้การมีอยู่จริงของชุมชนโบราณแห่งนี้ นครจัมปาศรีรุ่งเรืองในยุคแรกราว พ.ศ. 1000 - 1200 รับอิทธิพลศิลปะแบบทวารวดีที่รุ่งเรืองอยู่ในยุคนั้น บริเวณลุ่มน้ำตอนกลางของดินแดนสุวรรณภูมิอันได้รับอิทธิพลทางพระพุทธศาสนาและศิลปะจากอินเดีย หลักฐานที่ชี้ชัดได้แก่พระพิมพ์ดินเผาจากกรุต่างๆ ที่รู้จักกันดีในนาม พระกรุนาดูน หลังจากนั้นราว พ.ศ. 1600 - 1800 นครแห่งนี้ก็ได้เปลี่ยนไปรับอิทธิพลของศิลปะแบบลพบุรี (อารยธรรมขอมหรือเขมรโบราณ) มีการสร้างปราสาทหินที่เรียกว่า กู่ ขึ้นหลายแห่งรายรอบไปทั่วบริเวณ ที่เด่นชัดได้แก่ กู่สันตรัตน์ กู่น้อย กู่บ้านแดง ในการขุดแต่ง กู่เหล่านี้มีการค้นพบโบราณวัตถุหลายชิ้น อีกทั้งยังมีการค้นพบศิลาจารึก 14 บรรทัดบริเวณ ศาลานางขาว โบราณสถานสำคัญที่อยู่ใกล้กับกู่สันตรัตน์อีกด้วย ปัจจุบันโบราณวัตถุเหล่านี้ถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น

เรื่องราวของนครจัมปาศรี เมื่อเข้าสู่ยุคเสื่อมถอยก็เลือนหายไปหลายร้อยปี จนมาชัดเจนอีกครั้งเมื่อปี 2522 เมื่อชาวบ้าน ตำบลนาดูน พากันขุดค้นพบกรุพระพิมพ์โบราณจำนวนมาก กรมศิลปากรจึงได้เข้าขุดค้นที่นาแปลงนี้ ปรากฏพบเป็นซากเมืองโบราณ ที่น่าตื่นเต้นก็เมื่อมีการพบสถูปจำลองที่สูงราว 24 ซม. ด้านในมีผอบโบราณซึ่งมีถึงสามชั้นโดยชั้นนอกสุดเป็นสำริด ชั้นกลางเป็นเงินและชั้นในสุดเป็นทองคำ ภายในบรรจุอัฐิฐาตุ ซึ่งเมื่อผู้เชี่ยวชาญเปรียบเทียบยุคสมัยทั้งของโบราณวัตถุที่ค้นพบ รวมถึงสิ่งก่อสร้างที่รองรับสถูปนี้ไว้ ทุกอย่างชี้ชัดว่าผู้คนสมัยนั้นจะจัดเก็บและบูชาสิ่งสำคัญนี้ในลักษณะนี้เมื่อสิ่งนั้นคืออัฐิธาตุของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ชัดเจนว่าชาวมหาสารคามได้ค้นพบพระบรมสารีริกธาตุสำคัญเข้าแล้ว รัฐบาลสมัยนั้นจึงได้ดำริสร้างพระบรมธาตุนาดูนขึ้น เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุสำคัญนี้ไว้ให้คงอยู่ตลอดไป การก่อสร้างได้ถอดแบบองค์พระธาตุออกมาจากสถูปจำลองที่ขุดค้นพบนั้นเอง โดยการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศง 2529 พระบรมะาตุนาดูนจึงได้อยู่คู่บ้านคู่เมืองมหาสารคามนับแต่บัดนั้นมา เห็นหรือยังว่า อำเภอนาดูน นั้นมีความสำคัญทั้งทางด้านศาสนาและทางด้านโบราณคดีที่ท่านต้องมาเยี่ยมชมให้ได้

 

Phra Borommathat Nadoon is an important place in Buddhism of the Northeast of Thailand. Phra Borommathat Nadoon is a heart of Buddhists. Many people travel here to bless the happy life and success with everything.