การประชุมหารือระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารจังหวัด (Focus Group) ในพื้นที่ นโยบายสำคัญจังหวัดจังหวัดอากาศสะอาด (PM2.5) การขับเคลื่อนแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานเชิงพื้นที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (ผู้ว่า CEO)

11 มี.ค 2567      11 views

แชร์ทั้งหมด 0 ครั้ง

Facebook share Twitter share Print

วันที่ 11 มีนาคม 2567
            เวลา 08.30 น. นายเสริฐ ไชยยานันตา ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย  มอบหมายให้นายเก่ง แกล้วกล้า นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ เข้าร่วมการประชุมหารือระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารจังหวัด (Focus Group) ในพื้นที่ นโยบายสำคัญจังหวัดจังหวัดอากาศสะอาด (PM2.5) การขับเคลื่อนแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานเชิงพื้นที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (ผู้ว่า CEO) ณ ห้องประชุมธรรมลังกา ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวต้อนรับนายบัณฑูรย์ เศรษฐศิโรตม์ ประธานคณะอนุกรรมการการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. และคณะจากสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
            ซึ่งที่ประชุมได้เสนอแนวทางการดำเนินการตามที่ อ.ก.พ.ร. ได้เห็นชอบแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานเชิงพื้นที่ของผู้ว่าราชการแบบบูรณาการ (ผู้ว่า CEO) ตามผลการประชุมหารือระหว่าง ก.พ.ร. และมหาดไทยเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2566 กำหนดจังหวัดเป้าหมายและ Agenda 5 จังหวัด ประกอบด้วย 1.จังหวัดเศรษฐกิจชายแดน  - จังหวัดอุบลราชธานี 2.จังหวัดขจัดหนี้ (นอกระบบ) – จังหวัดบุรีรัมย์ 3.จังหวัดดิจิทัล - จังหวัดขอนแก่น  4.จังหวัดสีเขียว : อากาศสะอาด – จังหวัดเชียงราย และ 5.จังหวัดสีเขียว : การจัดการขยะมูลฝอย – จังหวัดเพชรบุรี
           ทั้งนี้จังหวัดเชียงรายได้เสนอข้อจำกัดและข้อเสนอการปลดล็อค ไว้ 4 มิติ ได้แก่
            1. มิติงาน ข้อจำกัด คือ การบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงาน และระเบียบ/ข้อกฎหมาย ข้อเสนอการปลดล็อค คือ ปรับปรุงรูปแบบการทำงานแบบมุ่งเน้นยุทธศาสตร์เป็นหลัก (Agenda)
            2. มิติระบบ ข้อจำกัด คือ ไม่มีแพลตฟอร์มกลางเพื่อบูรณาการข้อมูล และกลไกระหว่างประเทศ เพื่อลดภาวะหมอกควัน ข้อเสนอการปลดล็อค คือ บูรณาการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลดิจิทัล กำหนดให้มีเจ้าภาพหลักในการจัดทำแพลตฟอร์มกลาง ร่วมกับ Smart Dashboard สำหรับการตัดสินใจการบริหาร
            3. มิติงบประมาณ ข้อจำกัด คือ งบประมาณไม่เพียงพอ ไม่ครอบคลุมพื้นที่ ไม่สอดคล้องกับห้วงเวลา การถ่ายโอนภารกิจควบคุมไฟป่าให้กับ อปท. มีปัญหาด้านงบประมาณ ข้อเสนอปลดล็อค คือ จัดสรรงบประมาณแบบบูรณาการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ทบทวนระเบียบการใช้เงินทดรองราชการ ให้ อปท. สามารถเสนอตั้งงบประมาณมายังสำนักงบประมาณได้โดยตรง และการส่งเสริมให้ อปท. พึ่งพิงรายได้ของตนเอง
            4. มิติบุคลากร ข้อจำกัด คือ ไม่มีบุคลากรด้านดิจิทัล ข้อเสนอปลดล็อค คือ พิจารณาตำแหน่งนักภูมิสารสนเทศในราชการส่วนภูมิภาค
            โดยที่ประชุมร่วมกันพิจารณาถึงการดำเนินงานในช่วงเวลา 8 เดือนก่อนการปัญหา PM2.5 ควรให้เป็นการป้องกันก่อนการเกิดวิกฤต เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและลดการเกิดปัญหาซ้ำซากในห้วงเวลาดังกล่าว โดยนำข้อเสนอของจังหวัดเชียงรายเป็นร่างเริ่มต้นก่อนยกร่างเสนอต่อคณะอนุกรรมการฯ ต่อไป