ประวัติความเป็นมา

1 ม.ค. 2561      1868 views

แชร์ทั้งหมด 3 ครั้ง

Facebook share Twitter share Print

ประวัติความเป็นมา
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นหน่วยราชการส่วนกลางที่ขึ้นตรงต่อสำนักนโยบาย และยุทธศาสตร์ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งเป็นกระทรวงใหม่ที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 โดยโอนภารกิจ จากกรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกลไกของรัฐในการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ ตลอดจนเป้าหมายของการท่องเที่ยว การกีฬาและนันทนาการ จึงมีบทบาท หน้าที่และภารกิจในการสนองนโยบายรัฐบาล โดยรับมอบหมายจากกระทรวง จังหวัด และงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ภารกิจก้าวไปสู่วิสัยทัศน์ของกระทรวง คือ "การท่องเที่ยว และการกีฬา เพื่อการสร้างคน สร้างสังคม สร้างรายได้ และสร้างชาติ" อำนาจหน้าที่ อำนาจหน้าที่ของสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ ประสานงานและปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนของกระทรวงในส่วนภูมิภาค รวมทั้งดำเนินการประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการในเขตพื้นที่จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด จัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการของจังหวัด หรือกลุ่มจังหวัด รวมทั้งการติดตาม ประเมินผล และรายงานสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการในระดับจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านการท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการในเขตพื้นที่จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด โดยประสานหรือร่วมมือกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ส่งเสริม สนับสนุน และให้คำปรึกษาแนะนำแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเครือข่ายชุมชน ประชาชน และหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านการท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และการมีส่วนร่วมด้านการท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการในเขตพื้นที่จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยว ปฏิบัติงานตามกฎหมายในความรับผิดชอบของกระทรวงซึ่งกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือตามที่ได้รับมอบหมาย ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะการปฏิบัติงาน
1. จัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ ประสานนโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนแม่บทของกระทรวง รวมทั้งเร่งรัดติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงในระดับจังหวัด
2. ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและมาตรฐานการท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการในส่วนจังหวัด
3. ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อจัดทำข้อมูลในการกำหนดนโยบาย จัดทำแผนงานโครงการรวมทั้งจัดทำ และประสานแผนการปฏิบัติงานของหน่วยสังกัดกระทรวงในระดับจังหวัด
4. ติดตาม ประสานความร่วมมือ ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
5. ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่กิจกรรมการปฎิบัติราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย 6. ดำเนินการเกี่ยวกับงานการบริหารทั่วไป รวมถึงงานช่วยอำนวยการ และดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายงานนิติกรรมและสัญญาเกี่ยวกับความผิดทางแพ่งและงานคดีที่อยู่ในอำนาจของกระทรวง
7. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
8. ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กร และจัดระบบงานตามที่ได้รับมอบหมาย
9. บริหารแผนงานและนำเนินการเกี่ยวการเงินบัญชีงบประมาณพัสดุ และอาคารสถานที่ และยานพาหนะ 10. ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การเสริมสร้างวินัย และระบบคุณธรรมตามที่ได้รับมอบหมาย 11. จัดทำแผนพัฒนาบริการท่องเที่ยวรวมทั้งประสานส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนด
12. จัดทำแผนพัฒนาทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์รวมทั้งประสานส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด
13. จัดทำแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวรวมทั้งประสานส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการปฎิบัติตามที่กฎหมายกำหนด
14. ติดตามและประเมินผลงานพัฒนาการท่องเที่ยว
15. ศึกษาวิเคราะห์ วิจัยสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาบริการท่องเที่ยวเพื่อกำหนดมาตรฐานบริการท่องเที่ยวและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว
16. ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุน บริการท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ ให้มีการปฎิบัติตามมาตรฐานที่กำหนด 17. ดำเนินการเกี่ยวกับการออกใบอนุญาต สั่งพัก หรือเพิกถอนใบอนุญาตการรับชำระค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
18. ดำเนินการจัดทำ เก็บรักษา บันทึก และติดตามแก้ไขข้อมูลและประวัติของธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
19. ประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
20. ให้บริการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเนื่องจากการประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
21. ประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการพัฒนาและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวตามมาตรฐานที่กำหนด
22. จัดทำแผนปฎิบัติงานการกีฬาและนันทนาการในส่วนจังหวัดให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวง 23. จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพโครงสร้างพื้นฐานมาตรฐานการกีฬาและนันทนาการ
24. จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพมาตรฐานด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา
25. ดำเนินการเกี่ยวกับส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการกีฬาและนันทนาการในส่วนจังหวัด
26. ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและมาตรฐานการกีฬาและนันทนาการในส่วนจังหวัด 27. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย สนับสนุนส่งเสริมการศึกษาการดำเนินงานทางด้านการกีฬาและนันทนาการ
28. ดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬาในส่วนจังหวัด
29. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย สนับสนุน ส่งเสริมการศึกษาการดำเนินงานทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา
30. ปฎิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

วิสัยทัศน์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
เป็นองค์กรหลักในการสงเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว การกีฬา และนันทนาการ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

วิสัยทัศน์สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์
ขอให้เป็นคน คิดดี ทำดี พูดดี

ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์

วัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว
2. เพิ่มจำนวนแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการพัฒนา
3. พัฒนาศักยภาพสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวให้มีความหลากหลาย
4. พัฒนาการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับการผลิตสินค้าชุมชน

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก
1. พัฒนาและปรับปรุงระบบโลจิสติกส์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว
2. พัฒนาและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยว
3. สร้างโครงข่ายเส้นทางคมนาคมและระบบเชื่อมโยงการเดินทางท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวให้ยั่งยืน
1. พัฒนายกระดับคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว
2. ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว
3. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว

ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว
1. พัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์นวัตกรรม และมูลค่าเพิ่มด้านการท่องเที่ยว
2. เสริมสร้างโอกาส สร้างแรงจูงใจเพื่อพัฒนาการค้าและการลงทุน
3. พัฒนามาตรฐานสินค้าและบริการการท่องเที่ยว
4. ป้องกันและรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว

ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
1. ผลิตและพัฒนาศักยภาพบุคลากร
2. พัฒนาบุคลากรให้มีมาตรฐาน

ยุทธศาสตร์ที่ 5 สร้างและเผยแพร่ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว
1. สร้างสภาพแวดล้อมและพัฒนาระบบสนับสนุนการตลาดท่องเที่ยว
2. จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว
3. สร้างกระแสการรับรู้เพิ่มมูลค่าสินค้าท่องเที่ยว

ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน
1. สร้างและพัฒนากลไกการบริหารจัดการการท่องเที่ยว
2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. สร้างเครือข่ายการท่องเที่ยว

ยุทธศาสตร์การพัฒนากีฬาจังหวัดบุรีรัมย์

ยุทธศาสตร์ที่ 1การพัฒนาการกีฬาขั้นพื้นฐาน
1. ส่งเสริมสนับสนุนให้เยาวชน ผู้ปกครอง เข้าใจ รักและให้ความสำคัญด้านการพลศึกษาและเล่นกีฬา และออกกำลังกายเป็นกิจนิสัย
2. ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
3. อบรมพัฒนาและเพิ่มจำนวนบุคลากรทางการกีฬาขั้นพื้นฐาน
4. จัดให้มีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ด้านกีฬาแก่มวลชนอย่างจริงจัง
5. กำกับ ติดตามและประเมินผลอย่างจริงจัง

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาการกีฬาเพื่อมวลชน
1. จัดสรรงบประมาณในการดำเนินการจัดตั้งศูนย์กีฬาตำบล
2. จัดให้มีการเผยแพร่ความรู้ด้านการกีฬา และกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาผ่านทางสื่อต่างๆ อย่างจริงจัง
3. ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมกิจกรรมกีฬามวลชนทุกระดับ
4. สนับสนุนส่งเสริมให้มีอาสาสมัคร / ผู้นำการฝึกสอนกีฬาระดับตำบล

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ
1. พัฒนาระบบการสรรหา และคัดเลือกนักกีฬา เพื่อเป็นตัวแทนของจังหวัดเข้าร่วมการแข่งขันระดับเขตและระดับชาติ
2. ส่งเสริมให้มีการแข่งขันอย่างเป็นระบบเป็นมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
3. ส่งเสริมให้ทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพัฒนาสถานกีฬาประจำตำบล พร้อมทั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอย่างที่ได้มาตรฐานและพอเพียง
4. สร้างเครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาด้านการกีฬาให้ครอบคลุมทุกชุมชน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาการกีฬาเพื่อการอาชีพ
1. สร้างและพัฒนาสถานกีฬาให้ได้มาตรฐาน
2. มีระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับนักกีฬาและบุคลากรทางการกีฬา
3. สนับสนุนการเก็บตัวฝึกซ้อม และผู้เชี่ยวชาญมาให้การฝึกซ้อม
4. สนับสนุนให้ขวัญกำลังใจและรางวัลอย่างต่อเนื่องนักกีฬาที่ประสบผลสำเร็จในการแข่งขัน

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
1. จัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาวิจัย และขอการสนับสนุนนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา จากสถาบันที่มีความพร้อม
2. จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาที่ได้มาตรฐาน สากลประจำทุกอำเภอภายในจังหวัด
3. จัดตั้งองค์กรและเครือข่ายวิทยาศาสตร์การกีฬาครอบคลุมทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาการบริหารการกีฬา
1. จัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับนักกีฬาและบุคลากรทางการกีฬา
2. สร้างและพัฒนาองค์กร บุคลากร เครือข่ายกีฬา ให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนและทุกพื้นที่
3. จัดให้มีกองทุนในการพัฒนาการกีฬา และสวัสดิการของนักกีฬาอย่างพอเพียงและเหมาะสม
4. จัดให้มีการประชุมสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีกิจกรรมกีฬาร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน
5. จัดสรรบุคลากรที่มีวุฒิทางด้านพลศึกษาให้สถานศึกษาที่ขาดแคลน

แหล่งที่มา :