เมืองหลวงของผ้าขาวม้า อำนาจเจริญ

9 เม.ย. 2567      16 views

แชร์ทั้งหมด 0 ครั้ง

Facebook share Twitter share Print

เมืองหลวงของผ้าขาวม้า อำนาจเจริญ ผ้าขาวม้า เป็นหัตถศิลป์จากพ่อเฒ่าแม่เฒ่ามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นผ้าที่ถักทอด้วยจิตวิญญาณของคนในชุมชนโดยแท้ยิ่งได้เห็น ยิ่งได้สัมผัส สามารถทำให้เราเห็นและเข้าใจวิถีที่ลงมือถักทอ ทุกชิ้น ทุกลวดลาย ที่มาจากคนในชุมชน “ เป็นหนึ่งเดียวในโลก” ผ้าขาวม้า สามารถนำมาใช้ได้สารพัดประโยชน์ มีการดีไซด์ การย้อม โดยการใช้สีธรรมชาติ ใช้ไม้มงคล 9 ชนิด

1. ไม้ราชพฤกษ์ หมายถึง ความเป็นใหญ่และมีอำนาจวาสนา

2. ไม้ขนุน หมายถึง หนุนให้ดีขึ้นร่ำรวยขึ้น ทำอะไรจะมีผู้ให้การเกื้อ

3. ไม้ชัยพฤกษ์ หมายถึง การมีโชคชัย ชัยชนะ

4. ไม้ทองหลาง หมายถึง การมีเงินมีทอง

5. ไม้ไผ่สีสุก หมายถึง มีความสุข

6. ไม้ทรงบาดาล หมายถึง ความมั่นคง หรือทำให้ บ้านมั่นคงแข็งแรง

7. ไม้สัก หมายถึง ความมีศักดิ์ศรี ความมีเกียรติ

8. ไม้พะยูง หมายถึง การพยุงฐานะให้ดีขึ้น

9. ไม้กันเกรา หมายถึง ป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ หรืออีกชื่อหนึ่งว่าตำเสา ซึ่งอาจหมายถึง ทำให้เสาเรือนมั่นคง

นำมาย้อมให้เป็นผ้าขาวม้ามหาอำนาจ ที่อำนาจเจริญ สวมใส่แล้วจะทรงไว้ด้วยอำนาจ และความเจริญรุ่งเรือง และได้หัวใจหลักทั้ง 7 อำเภอ ที่ได้นำจุดเด่น อัตลักษณ์ของตัวเองมานำเสนอ ว่าลวดลายผ้าขาวม้าของตัวเองเป็นอย่างไร เช่น • อำเภอลืออำนาจ ทอจากสีย้อมธรรมชาติ โดยลวดลายจะประยุกต์ตามยุคสมัย • อำเภอพนา เน้นในการทำผ้าคุมไหล่ ผ้าพันคอ สไตล์โมเดิร์น • อำเภอปทุมราชวงศา เน้นในการสร้างสรรค์การประยุกต์ให้เข้ากับผ้าลายขิด • อำเภอเสนางคนิคม เน้นการใช้สีสันที่สดใส • อำเภอเมืองอำนาจ เน้นเป็นแบบแฟชั่น ทันสมัย และแบรนด์นุชบา ได้นำจุดเด่นของแต่ละอำเภอมาแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน จึงนำมาสู่การแปรรูปผ้าขาวม้าเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ กระเป๋า เสื้อผ้าสำเร็จรูป หมอน ผ้าคลุมไหล่ ผ้าผืน ตุ๊กตา ผ้าพาดเตียง ฯลฯ