เข้าร่วมการ Kick of โครงการ ขับเคลื่อนการดำเนินงานดิจิทัลสุขภาพ "30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว" จังหวัดอำนาจเจริญ

30 มี.ค 2567      4 views

แชร์ทั้งหมด 0 ครั้ง

Facebook share Twitter share Print

วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16.00 - 20.00 น. นางสาวจิราภรณ์ พรมมะหา ท่องเที่ยวและกีฬจังหวัดอำนาจเจริญ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ในสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬจังหวัดอำนาจเจริญ เข้าร่วมการ Kick of โครงการ ขับเคลื่อนการดำเนินงานดิจิทัลสุขภาพ "30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว" จังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเป็นดั่งแสง และทรงเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนชาวไทยตลอดจนรณรงค์เชิญชวนค้นไทยหันมาออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง และนายแพทย์โอภาส การย์วินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวรายงาน โดยมี นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการครั้งนี้ และว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานในส่วนของจังหวัดอำนาจเจริญ ณ ห้องประชุมสวนพุทธอุทยาน อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มงานประกันสุขภาพอำนาจเจริญ Kick off นโยบายดิจิทัลสุขภาพ 30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว พร้อมกับ 8 จังหวัดนำร่องเฟส 2 ก่อนขยายเป้าหมายทั่วประเทศไทยใน 1 ปี วันนี้ (30 มี.ค. 67) เวลา 17.00 น. ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว” จังหวัดอำนาจเจริญ ณ ศูนย์ประชุมพุทธอุทยานอำนาจเจริญ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ โดยมี นายแพทย์สมฤกษ์ จึงสมาน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 ผู้บริหารศูนย์วิชาการและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน เขตสุขภาพที่ 10 ทั้ง 4 จังหวัด ประกอบด้วย อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ ตัวแทนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดอำนาจเจริญ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และประชาชนทั่วไป จำนวน 1,000 คน ร่วมในพิธีในวันนี้ ซึ่งเป็นการจัดงานพร้อมกันกับอีก 8 จังหวัดนำร่อง ในเฟส 2 มีการถ่ายทอดสัญญาณหลัก จากสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนครราชสีมา โดยนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว” เฟสที่ 2 จากนโยบาย “30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว” ซึ่งได้มีการดำเนินงาน เฟสที่ 1 พร้อมกันใน 4 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด แพร่ เพชรบุรี และนราธิวาส เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา เพื่อเป็นการช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบบริการสุขภาพที่ครอบคลุม รวดเร็ว ลดความแออัด และความเหลื่อมล้ำในระบบบริการสุขภาพ ตลอดจนการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพทั้งในหน่วยบริการที่เป็นของภาครัฐและเอกชนเข้าด้วยกัน และมีแผนขยายการดำเนินงานไปอีก 8 จังหวัดนำร่องในเฟสที่ 2 ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สิงห์บุรี พังงา หนองบัวลำภู นครราชสีมา สระแก้ว และอำนาจเจริญ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จังหวัดอำนาจเจริญ เป็น 1 ใน 8 จังหวัดนำร่อง ที่ได้เข้าร่วมนโยบาย “30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว” ได้มีการดำเนินงานตามนโยบายดิจิทัลสุขภาพ มีการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพทั้งของหน่วยบริการที่เป็นของภาครัฐและเอกชนภายในจังหวัดอำนาจเจริญเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงระบบบริการของหน่วย บริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่เขตจังหวัดอำนาจเจริญได้อย่างรวดเร็ว ลดปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นระบบบริการ รวมถึงการกำหนดและวางรูปแบบ หรือระบบต่าง ๆ ในการกำกับ ติดตามการตรวจสอบ และสนับสนุนหน่วยบริการให้จัดบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้ายืนยันตัวตน เพื่อให้หน่วยบริการภาครัฐและเอกชนสามารถ เชื่อมโยงประวัติสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้การจัดบริการในจังหวัดอำนาจเจริญสามารถดูประวัติสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์, ใบรับรองแพทย์ดิจิตอล, ใบสั่งยาออนไลน์, การแพทย์ทางไกล, การนัดหมาย ออนไลน์, การบริการรับ – ส่งยาที่บ้าน, การส่งต่อการรักษาโดยไม่ใช้ใบส่งต่อ และการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ปัจจุบันมีหน่วยบริการที่พร้อมดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว ได้แก่ โรงพยาบาลภาครัฐทั้งหมด 7 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 81 แห่ง นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการเอกชนรวมทั้งสิ้น จำนวน 114 แห่ง ประกอบด้วย คลินิกเวชกรรม คลินิกทันตกรรม ร้านยา คลินิกการพยาบาลและผดุงครรภ์ คลินิกแพทย์แผนไทยและเทคนิคการแพทย์ ผลการดำเนินงาน 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า มีการจัดระบบการแพทย์ทางไกล จำนวน 4,222 ครั้ง การจัดระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน จำนวน 1,024 ครั้ง การจัดบริการส่งยาที่บ้าน (Health Rider) จำนวน 1,846 ครั้ง และการออกใบรับรอง แพทย์ดิจิทัล จำนวน 455 ครั้ง